การจะมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบ้านเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง และน้อยคนที่จะมีเงินเก็บก้อนโตในการกู้ซื้อบ้านจัดสรร จึงจำเป็นต้องยื่นขอสินเชื่อกู้บ้านจากธนาคาร ซึ่งอาชีพของผู้ที่ต้องการกู้มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้หรือไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากเสถียรภาพทางรายได้แต่ละอาชีพไม่เท่ากันนั่นเอง วันนี้เราได้รวบรวมวิธีกู้ซื้อบ้านจัดสรรแต่ละอาชีพทำอย่างไรมาแนะนำ ดังนี้
4 อาชีพกู้ซื้อบ้านจัดสรรรายละเอียดครบ
1. ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เรียกได้ว่าหน่วยบงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมีรายได้ที่มั่งคงมากดีที่สุดเลยก็ว่าได้ อย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่อได้รับราชการแล้ว โอกาสที่จะตกงานมีน้อยมาก คุณสมบัติเหล่านี้เป็นอะไรที่ธนาคารให้ความสำคัญอย่างมากในการกู้ซื้อบ้าน ดังนั้นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับอนุมัติกู้สินเชื่อบ้าน อีกทั้งกลุ่มข้าราชการมักจะได้รับโปรโมชั่นพิเศษดอกเบี้ยสินเชื่อที่ถูกกว่าอาชีพอื่น ๆ อย่างธนาคาร ธอส. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สนับสนุนให้ข้าราชการและหน่วยงานรัฐกู้ซื้อบ้านง่ายขึ้น ตัวอย่างแพ็คเกจ ถ้าเป็นลูกค้าทั่วไป จะได้รับดอกเบี้ย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.75% เป็นต้น แต่ถ้าเป็น (หน่วยงานรัฐ) จัดอยู่กลุ่มลูกค้าสวัสดิการ จะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.50% เป็นต้น ดังนั้นลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจควรศึกษาแพ็คเกจให้ดีก่อนกู้สินเชื่อ เพราะลูกค้าสวัสดิมีสัญญายินยอมหักเงินงวดผ่อนชำระสินเชื่อบ้านออกจากบัญชีเงินเดือนพนักงานส่งให้ธนาคารโดยตรง
ภาพถ่ายโดย fauxels: https://www.pexels.com/th-th/photo/3184357/
2. พนักงานเอกชนที่มีรายได้ประจำ อีกหนึ่งอาชีพที่มีความเสี่ยงต่ำไม่แพ้กันในการกู้ซื้อบ้าน พนักงานเอกชนที่มีรายได้ประจำ ถึงแม้ว่าสายงานนี้อาจจะเจอความเสี่ยงอยู่บ้าง เช่น ถูกลดเงินเดือน ถูกเลิกจ้าง หรือแม้กระทั่งบริษัทถูกปิดตัวลง เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่พนักงานเอกชนมักจะไม่มีหนี้สินจากการทำธุรกิจ ธนาคารจึงมองว่าจัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ และมีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อกู้ซื้อบ้านสูงเช่นกัน ดังนั้นพนักงานเอกชนสามารถยื่นขอสินเชื่อกู้บ้านได้จากทุกธนาคาร เพื่อเปรียบเทียบแพ็คเกจและอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารได้ อีกทั้งในกรณีบางองค์กรยังมีการทำสัญญาให้พนักงานเป็นลูกค้ากลุ่มสวัสดีการอีกด้วย ทำให้การขอสินเชื่อกู้บ้านได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าลูกค้าทั่วไป ตัวอย่าง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส) ให้ดอกเบี้ยพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้าสวัสดีการ (ธุรกิจเอกชน) จะจ่ายดอกเบี้ยปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.25% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.50% และปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% และยังมีธนาคารอื่น ๆ ที่ให้บริการคล้ายกัน ดังนั้นควรตรวจสอบองค์กรของผู้กู้ก่อนว่ามีสิทธิสวัสดิการพนักงานในการกู้ซื้อบ้านหรือไม่
ภาพถ่ายโดย Kampus Production: https://www.pexels.com/th-th/photo/7289710/
3. อาชีพอิสระ อาชีพอิสระกู้ซื้อบ้านเป็นกลุ่มอาชีพที่ธนาคารมองว่ามีความเสี่ยงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นค้าขายขนาดเล็ก รับจ้างทั่วไป ขายของออนไลน์ซื้อบ้าน หรืองานอะไรก็ตามที่อยู่นอกระบบ ล้วนจัดอยู่ในหมวดอาชีพที่มีโอกาสน้อยที่สุดในการอนุมัติยื่นขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน เพราะรายได้ของอาชีพไม่มั่งคง อาจเจอความเสี่ยงได้ตลอดจากการกระทบของภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนของหลักฐานทางการเงิน เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีกระแสเงินสดเป็นเงินสด ไม่ได้นำไปฝากธนาคาร จึงไม่มีการจดบันทึกเป็นรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจน ธนาคารจึงตรวจสอบไม่ได้ แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออกให้กับผู้ที่มีอาชีพอิสระในการยื่นขอสินเชื่อกู้บ้าน ผู้กู้สามารถขอคำปรึกษากับธนาคารที่สนใจ เพื่อรับคำแนะนำในการเตรียมตัว ส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะให้ยื่นหลักฐานรับรองรายได้อย่าง หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือหลักฐานการเสียภาษีประจำปี รวมไปถึงหลักฐานการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือนว่ามีการนำเงินเข้าบัญชีเป็นประจำ ดังนั้นอาชีพอิสระก็สามารถยื่นขอสินเชื่อกู้บ้านได้ และในปัจจุบันมีธนาคารที่พร้อมช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ธ.ออมสิน จะมีเจ้าหน้าที่ประจำสาขาที่ให้คำแนะนำวิธีการเดินบัญชีเพื่อวัดสภาพคล่องเป็นเวลา 6 เดือน และการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการยื่นกู้
ภาพถ่ายโดย RF._.studio: https://www.pexels.com/th-th/photo/3825586/
4.อาชีพพิเศษ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ อาชีพพิเศษหรือกลุ่มวิชาชีพเฉพาะเป็น บุคลากรหายากและมีความต้องการในสังคมสูงมาก เรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้สูงที่สุดเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการกู้ซื้อบ้านธนาคารต่าง ๆ จึงมีแพ็คเกจพิเศษให้กับผู้ที่ประกอบอาชีพพิเศษดังกล่าวในการกู้ซื้อบ้าน เพื่อดึงดูดกลุ่มคนที่ประอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ “วงการแพทย์” ได้แก่ ทันตแพทย์ แพทย์ สัตวแพทย์ และเภสัชกร เป็นต้น ธนาคารที่เปิดบริการให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่นที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว เช่น ผู้พิพากษา อัยการ อาจารย์มหาลัยในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปอีกด้วย ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับ ธนาคารกรุงเทพเสนอให้ 4 ทางเลือก โดยมีดอกเบี้ยเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51%-4.63% สำหรับผู้ที่ประกอบ อาชีพพิเศษกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ แต่ถ้าเป็นลูกค้าทั่วไปจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.96%-6.45% ในวงเงิน 1-5 ล้านบาท เป็นต้น
สรุปบทความ จากบทความจะเห็นได้ว่า แต่ละอาชีพมีความมั่นคงทางรายได้แตกต่างกัน ธนาคารจึงเสนออัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะไปกู้ซื้อบ้านจัดสรร จึงควรตรวจสอบสถานะอาชีพของตัวเองเป็นลำดับแรก จากนั้นเลือกธนาคารที่เปิดให้บริการแล้วมาลองเปรียบเทียบข้อเสนอก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้แพ็คเกจที่คุ้มค่าที่สุด ถ้าหากคุณอยากได้ที่ปรึกษาในการเลือกซื้อบ้าน โครงการบ้านสระบุรี ยูกฤษกรีนวิลล์ ทางเรายินดีให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นซื้อบ้านที่เหมาะกับคุณลูกค้าให้ได้อย่างแน่นอน
#กู้ซื้อบ้าน